วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียนโปรแกรม C# GUI

namespace jenny
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
... {
InitializeComponent();
}

private void radioButton1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{

}

private void radioButton1_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศชาย");
}

private void radioButton2_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศหญิง");
}

private void Form1_Load(object sender, EventArgs e)
{
radioButton1.Checked = false;
radioButton2.Checked = false;
}

private void checkBox1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{

}

private void checkBox2_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}

private void checkBox3_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;
}

private void checkBox1_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Red;
}

private void checkBox2_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}

private void checkBox3_Click(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;

}
private void showColor()
{
if((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.White;
}
else if ((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Yellow;
}
else if((checkBox1.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Magenta;
}
else if((checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Cyan;
}
else if(checkBox1.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Green;
}
else if(checkBox2.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Blue;
}
else if(checkBox3.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Red;
}
}

}

}ดูเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อกุศลกรรม

อกุศลกรรมบถ 10 ทางอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์


1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
3. ประพฤติผิดในกาม
4. โกหก หลอกลวง
5. พูดส่อเสียด ดูถูก
6. พูดหยาบ
7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว


ผล ของอกุศลกรรมบถในแต่ละข้อ

- ผลของการทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์ จะเป็นคนรูปร่างไม่งาม มีโรคมาก สุขภาพไม่ดี กำลังกายอ่อนแอ เฉื่อยชา กลัวอะไรง่าย หวาดระแวง มีอุบัติเหตุบ่อย ตายก่อนวัยอันควร อายุสั้น

- ผลของการขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง จะเกิดมาฐานะไม่ดี อดอยาก หวังอะไรไม่สมหวัง ทำธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ ทรัพย์สินเสียหายพังพินาศ สิ่งของในครอบครองชำรุดเสียหาย

- ผลของการประพฤติผิดในกาม มีความต้องการทางเพศไม่ปกติ จะทำให้มีผู้เกลียดชัง เห็นหน้าแล้วก็ไม่ถูกชะตา เสียทรัพย์ไปเพราะกาม ถูกประจานได้รับความอับอายบ่อย ร่างกายไม่สมประกอบ วิตก ระแวงเกินปกติ พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก คนที่รักไม่ได้ ได้คนที่ไม่รัก พบแต่คนที่มีเจ้าของแล้วมาชอบ คู่มีตำหนิเช่นเจ้าชู้,หม้ายหรืออายุมาก

- ผลของการโกหก หลอกลวง มีจิตบิดเบี้ยวเข้าใจอะไรผิดง่ายๆ จะเป็นคนพูดไม่ชัด ฟันไม่เป็นระเบียบ ปากเหม็นแม้จะดูแลแล้ว ไอตัวร้อนจัด ตาไม่อยู่ในระดับปกติ ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย แม้จะฉลาดเพียงไหนก็จะพบเหตุที่ต้องเสียรู้คนอื่น

- ผลของการพูดส่อเสียด ดูถูก จะเป็นคนชอบตำหนิตนเอง จะถูกลือโดยไม่มีความจริง แตกจากมิตรสหาย จะเกิดในตระกูลต่ำ

- ผลของการ พูดหยาบ จะเป็นคนอยู่ในสถานที่ได้ยินเสียงที่น่ารบกวนไม่สงบ ทั้งบ้านและที่ทำงาน มักหงุดหงิดรำคาญในเสียงต่างๆได้ง่าย มีผิวกายหยาบ น้ำเสียงหยาบ แก้วเสียงไม่ดี เสียงเป็นที่ระคายโสตประสาทของผู้อื่น

- ผลของการพูดเพ้อเจ้อ นินทา จะเป็นคนไม่มีเครดิต ไม่มีใครเกรงใจ เวลาพูดไม่มีใครสนใจฟัง เป็นคนไม่มีอำนาจ มีจิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ สับสน

- ผลของการเพ่งเล็งอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน จะเป็นผู้รักษาทรัพย์สมบัติ รักษาคุณงามความดีไม่ได้ เกิดในครอบครัวอาชีพที่ต่ำต้อย ต้องได้รับคำติเตียนบ่นด่าว่าบ่อย หวังสิ่งใดไม่สมหวัง เสี่ยงโชคยังไงก็ไม่ได้

- ผลของการคิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท จะเป็นคนมีโรคมาก ผิวพรรณและรูปร่างดวงตาไม่สวย มีโรคทรมาน ตายทรมาน โดนทำร้ายตาย

- ผลของ เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว จะเกิดในถิ่นห่างไกลความเจริญ คนป่าคนดอย ด้อยการศึกษา ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะที่ทำให้ใจสงบให้ใจปล่อยวาง ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหมือนเกิดมาว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้

ส่วนบาปที่อยู่บอกเหนือ อกุศลกรรมบถ ก็จะมีเรื่องของศีลข้อที่ห้า คือการดื่มสุราเสพยาเสพติด

- ผลของการชอบดื่มสุราจนเมามาย เสพยาเสพติดกดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท จะทำให้เป็นคนโดนหลอกง่าย ต้องอยู่ร่วมทำงานกับคนพาลชวนทะเลาะ รักษาทรัพย์รักษาชื่อเสียงไว้ไม่ได้ เรียงลำดับการพูดไม่รู้เรื่อง สติปัญญาและสมองไม่แจ่มใส

ดวงชะตาคนคนหนึ่ง จะดีจะร้ายสัมพันธ์กับกรรมดีชั่วดังที่กล่าวมาครับ
เรื่องราวร้ายดีแค่ ไหนที่เกิดขึ้นกับคุณบ่อยๆ นั่นก็แปลว่าคุณทำกรรมชนิดนั้นบ่อยๆ ช่วงชีวิตคนคนหนึ่ง ดีบ้าง ชั่วบ้าง หน้าใสบ้าง หน้ามืดบ้าง ทำให้ดวงชะตานั้นๆก็ดีบ้างร้ายบ้าง

ผู้เขียนชะตากรรม กำหนดชะตาชีวิตนั้นก็คือตัวของคุณเอง
ทั้งเป็นผู้เขียนมาแล้วในอดีตจน กลายมาเป็นปัจจุบัน
และกำลังเขียนเรื่องราวในอนาคต ด้วยการกระทำในวันนี้

ที่มา:http://www.oknation.net/blog/zaiseefa/2010/03/11/entry-2

กุศลกรรม

กุศลกรรมบถ 10ประพฤติดีด้วยกาย 3 ประเภทประพฤติดีด้วยกาย นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น มี 3 ประการ

1.คือ อย่าเบียดเบียนร่างกายของท่าน คือ อย่าฆ่า อย่าฟัน อย่าทุบ อย่าตี ร่างกายของท่านผู้อื่นโดยที่สุด เว้นถึงสัตว์ติรัจฉานได้ยิ่งเป็นการดี ตรงภาษาบาลีที่ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี ฯ
2.คือ อย่าเบียดเบียนทรัพย์สมบัติข้าวของของท่านผู้อื่น คืออย่าลักขโมย อย่าฉ้อโกง อย่าเบียดบังเอาข้าวของของท่านผู้อื่น ตรงภาษาบาลที่ว่า อทินฺนาทานาเวรมณี ฯ
3.คือ อย่าแย่งชิงลักลอบด้วยอำนาจของกายในหญิงที่ท่านหวงห้าม ตรงภาษาบาลีที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีฯ
ประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภทประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภท (วจีกรรม 4 ประเภท) นั้นได้แก่

1.คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่สัตย์ที่จริง ให้เว้นจากวาจาที่เท็จไม่จริงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า มุสาวาทาเวรมณี ฯ
2.คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันสมานประสานสามัคคีให้ท่านดีต่อกัน ให้เว้นวาจาส่อเสียดยุยงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ปิสุณายาวาจาเวรมณีฯ
3.คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันอ่อนโยน ให้เกิดความยินดีแก่ผู้ฟัง ให้งดเว้นวาจาที่หยาบคายขึ้นกูขึ้นมึง บริภาษตัดพ้อหยาบๆ คายๆ ให้ผู้ฟังได้รับความเดือดร้อนต่างๆ เสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ผรุสฺสายวาจายเวรมณี ฯ
4.คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์ ให้เว้นวาจาที่เหลวไหล คือพูดเล่นหาประโยชน์มิได้เสีย ตรงกับภาษาลีที่ว่า สมฺผปฺปลาปาวาจายเวรมณี ฯ
ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภทประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท (มโนกรรม 3 ประเภท) นั้นคือ

1.คือ ให้ระวังเจตนากรรม ให้สัมประยุตต์ด้วยเมตตาอยู่เสมอ คือ ความดำริของใจ อย่าให้ลุอำนาจแห่งโลภะ คืออย่าเพ่งเอากิเลสกามและวัตถุกามของท่านผู้อื่น อันไม่สมควรแก่ฐานะของตน ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อนภิชฺฌา โหติฯ
2.คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วยกรุณาอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้โทสะ พยาบาท เข้าครอบงำได้ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อพฺพยาปาโท โหติฯ
3.คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วย มุทิตา อุเบกขา อยู่ทุกเมื่อ อย่าให้ไหลไปในทางผิด ให้เห็นตรงตามคลองธรรมทั้ง 10 นี้อยู่ทุกเมื่อ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า สมฺมทิฎฺฐิโก โหติฯ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่ของจ้าของร้านเกมส์

กิจการร้านกมส์จัดเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการ
ขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่ถือว่าได้ผลทุนคืนเร็วกว่ากิจการอื่น การ
ดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น
ลักษณะของเจ้าของร้านเกมส์
1. มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในเรื่องต่างพอสมควร
2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในร้านของตนเอง
3. เจ้าของกิจการต้องกล้าลงทุนและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4. การควบคุมการดำเนินงานโดยส่วนใหญ่เจ้าของร้านต้องดูแลคนเดียว
5. มีความรับผิดชอบในลูกจ้างที่อาจจะมี เช่น นักควบคุมโปรแกรมของร้าน

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมคอมฯ

1. จริยธรรม
หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

2.ความหมายจริยธรรมทางธุรกิจ
จากการศึกษาในด้านการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจเราสามารถสรุป
ความหมายได้ดังนี้

อาชีพ (Profession) หมายถึง การทำงานที่มุ่งบริการยิ่งกว่าหาเงิน ผู้ประกอบ
อาชีพมิได้หมายความว่าต้องประกอบกิจการโดยไม่รับค่าตอบแทน จำเป็นจะต้อง มีอัตราค่าตอบแทน จำเป็นจะต้องจะต้องมีอัตรา ค่าตอบแทนพอสมควรกับการบริการ และการรับผิดชอบ แต่มุ่งประกอบเพื่อ รับใช้สังคมเป็นที่ตั้ง มีมาตรการ ร่วมสำหรับ ควบคุมการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการอาชีพนั้น ๆ ไม่กล้าฝืน เพราะ การเสียจรรยาบรรณจะได้รับ การดูถูกเหยียดหยามกลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจ
ธุรกิจ (Business) หมายถึง การทำงานที่มุ่งหาเงินยิ่งกว่าการบริการ งานใด
จะเป็นอาชีพหรือธุรกิจย่อยขึ้นอยู่กับความตั้งใจของตัวผู้ทำงาน ฉะนั้นผู้ประกอบ ธุรกิจบางคนทำอย่างนักธุรกิจแต่อย่างเดียวบางคนทำอย่างนักอาชีพด้วยการมอง ถ้า มองในแง่เศรษฐศาสตร์ก็จะเป็นนักธุรกิจ ถ้ามองในแง่แง่จริยศาสตร์ก็เป็นนักอาชีพ ผู้ที่มุ่งประกอบกิจการเพื่อโอบโกยหาผลประโยชน์แต่อย่างเดียวการแสดงออกใน ความ ประพฤติขณะทำงานจึงต่างกันกับผู้ประกอบอาชีพ อาชีพทั้งหลายก็ กลายเป็น ธุรกิจได้ง่าย

3.ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา
“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ คำว่า ธรรม พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ 1. ธรรมชาติ 2. กฎของธรรมชาติ 3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ 4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต ) เพิ่มศัพท์และปรับปรุง พ.ศ. 2427 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 105) ที่นำเอาความหมายของคำว่า ธรรม ที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้ก็เพื่อความเข้าใจคำว่า ธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆเท่านั้น ธรรม หรือ สัจธรรม เป็นแม่บท เป็นฐานของทุกอย่าง ต่อจาก สัจธรรม ก็คือสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรม อันได้แก่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความดีงาม ซึ่งเป็นความจริงที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ความจริงของมนุษย์ต้องสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ จึงจะเกิดผลสำเร็จได้ด้วยดีจากนั้นจึงจะมาถึง วัฒนธรรม ซึ่งเป็นรูปแบบหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นจริงตามที่มนุษย์ต้องการสัจธรรม คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะของธรรมชาติ
จริยธรรม คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์วัฒนธรรม คือรูปแบบการปฏิบัติตามจริยธรรมที่ปรากฏในวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์

4.องค์ประกอบของจริยธรรม
จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทาง
ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือในทุกองค์กรต้องมีข้อปฏิบัติ ปฏิบัติร่วมกันจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะได้มีดังนี้
1. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กร ซึ่งถ้าองค์กร
ใดขาดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละคน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการ ไม่มีผู้นำ ไม่มีระเบียบแบบแผนให้ยึดถือ ในแนวเดียวกัน ถ้าหาเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่ เกิดความ เดือดร้อน และความไม่สงบในองค์กรจึงอาจทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การได้ ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรต้องมีระเบียบวินัย
2. สังคม (Society) เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบ
แบบแผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามซึ่งการ รวมกลุ่ม กันประกอบกิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะ ให้ ความ ร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาสังคมหรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่ ่่ประโยชน์ ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดี ๆ เช่น เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยต่าง ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือแม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยการบริจาคทั้ง ทุนทรัพย์ และกำลังเท่าที่ สามารถช่วย ได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือใน รูปแบบต่าง ๆซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรม ทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมไทย นั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วย น้ำใจที่ ี่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
3. อิสระเสรี (Autonomy) โดยทั่วไปแล้ว บุคคลผู้สำนึกในมโนธรรมและมี
ประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่ความสุข ที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับ คนไทยไทยนั้นค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเองให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการ โครงการศึกษาจริยธรรม ได้ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝัง
แก่คนไทยไว้ 8 ประการดังนี้

1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทธาในสิ่งที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับ
ที่สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ ความจริงได้
2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้
ความจริงเป็นทางออกอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือจัดอุปสรรค์ข้อ ยุ่งยาก ต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่
3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการเสียสละนั้นไม่
ก่อให้เกิดเดือนร้อนต่อตนเอง แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล

4. สติ- สัมปชัญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลัง

ทำอะไรอยู่ และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้าน การประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องที่ด้วยสติ

5. ไม่ประมาท คือ การที่จะกระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียม
เตรียมพร้อม โดยต้องมีการคาดการณ์ เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใด ๆ ของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัย
6. ซื่อสัตย์สุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบัติตนที่ตรงต่อความเจริญความ
ถูกต้อง ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ต่อคำมั่นสัญญา ซึ่งหากปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่อยู่ ร่วมกันในสังคมได้
7. ขยัน – หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้
รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน
8. หิริ – โอตตัปปะ คือ การละอาย และแกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิด
ศีลธรรมต่อมาได้มีการเพิ่มคุณลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ

1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ
4. ความเสียสละ 5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที
7. การรักษาระเบียบวินัย
8. การประหยัด 9. ความยุติธรรม
10. ความอุตสาหะ 11. ความเมตตากรุณา

5.ประเภทของจริยธรรม

จากการศึกษาเราสามารถสรุปประเภทของจริยธรรมได้ 2 ระดับคือ
1. จริยธรรมภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในอาจจะไม่แสดงออกซึ่งเป็นจริยธรรม
ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ของบุคคล และสภาวะของจิตใจของแต่ละ บุคคล และบุคคล เช่น ความปราศจากอคติ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที มีความเมตตากรุณาเป็นต้น
2. จริยธรรมภายนอก คือ พฤติกรรมภายนอกที่บุคคลแสดงออกมาซึ่งสามารถ
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีความซื่อตรง มีสัจจวาจา มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน มีความขยันหมั่นเพียร ความประณีต สุภาพอ่อนน้อม ให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร เคารพกฎกติกา มีมารยาท เป็นต้น

6. โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม
คุณลักษณะของจริยธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่า “จริยธรรม” นั้น มีบทบาทต่อบุคคลในลักษณะใดบ้าง และส่งผลต่อบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตน ในการ ดำรงชีวิต ทั้งในด้านการทำงานและ ความเป็นอยู่ในแต่ละสังคม คุณลักษณะโดยทั่วไปของจริยธรรม เมื่อพิจารณาแล้วเราสมารถแบ่งได้ดังนี้

1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การบุคคลนั้น สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ความผูกพัน ด้วยความเพียร ละเอียดรอบคอบยอมรับผลของการกระทำ ในการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุ ตามมุ่งหมาย มีพยายามปรับปรุงการทำงาน ของตน ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และพร้อมที่จะสร้างสรรค์งานใหม่ อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลอย่างเหมาะสม
ตรงต่อความเป็นจริง ตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น หาก ทำงานอยู่ในองค์กรต้องมีความซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ต่อลูกจ้าง ต่อองค์กร ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นต้น
3. ความมีเหตุผล หมายถึง ความสามารถในการใช้ปัญญา รู้จักไตร่ตรอง
พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลง งมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และ
ความยืดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจจะผิดได้ ไม่เชื่อง่าย หูเบา รู้จักใช้เหตุผล
ในกานพิจารณาเรื่องราวที่รับรู้ เป็นต้น
4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีจิตใจและการประพฤติ
ที่รู้สำนึกในอุปการคุณของผู้มีพระคูณแล้วแสดงออกตอบแทนต่อมีพระคุณอย่าง บริสุทธิ์ใจ มิใช่เป็นการกระทำเฉพาะหน้าที่ที่ต้องกระทำ แต่ควรเป็นการกระทำ ที่ แสกงออกมาซึ่งความ เต็มใจอย่างแท้จริง เป็นต้น
5. การรักษาระเบียบวินัย หมายถึง แนวปฏิบัติในการที่จะควบคุมความ
ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสมกับ จรรยาบรรณ ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศิลธรรม ซึ่งในองค์กรทุกองค์กร เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกัน ทั้งต้องเป็น แนวปฏิบัติร่วมกันตลอดจนในสังคัมจะต้องมี เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม เป็นต้น
6. ความสามัคคี หมายถึง การเตรียมความพร้อมเพรียม เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ร่วมมือกันกระทำกิจกรรม หรือกิจกรรมต่างๆ ให้ได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว ซึ่งยัง หมายถึงการที่จะต้องรู้ถึงการปรับตนเอง ให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี รับผิดชอบในหน้าที่ ตลอดจนการมีความรักในหมู่คณะ เป็นต้น
7. ความยุติธรรม หมายถึง การมีจิตใจที่ความเที่ยงตรง ซึ่งความเที่ยงตรงนี้
จะต้องสอดคล้องกับความจริง ไม่ลำเอียง หรือมีการปกปิด ซึ่งหากบุคคลมีความ ยุติธรรม ประจำตนแล้วนั้น ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในทางที่ไม่ดี จะเกิดขึ้นน้อยมาก
8. ความเสียสละ หมายถึง การที่บุคคลนั้นละแล้วซึ่งความเห็นแก่ตัว รู้จัก
สลัดอารมณ์ร้ายในตัวเองทิ้ง การมีน้ำใจและแบ่งปันให้กับบุคคลอื่น การให้ความ ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ กำลงกาย กำลังสติปัญญา เป็นต้น
9. การประหยัด หมายถึง การที่บุคคลนั้นไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักยับยั้ง
ความต้องการให้อยู่ในขอบเขต มีความพอดี ใช้สิ่งของทั้งหลาย อย่างพอเหมาะ พอควร ใช้ให้ได้ ประโยชน์มากที่สุด รู้จักระมัคระวัง ไม่ให้มีส่วนเกินเหลือทิ้ง เป็นต้น
10. ความเมตตากรุณา หมายถึง การที่บุคลมีความรักใคร่ปอง ดองกัน มี
ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน ซึ่งมีจุดหมายที่จะ ให้บุคคลดังกล่าวให้พ้นทุกข์ เป็นต้น
11. ความอุตสาหะ หมายถึง การที่บุคคลมีความพยายามอย่างเข็มแข็งในการ
รทที่จะมุ่งมั่นในการทำงานหรือทำกิจกรรม ใด ๆ ให้สำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ในการทำงานและตรงตามเวลาที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น

นางสาวเจนิจรา ทองโคตร พณ.3/12 เลขที่9
นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง พ.ณ.3/12 เลขที่ 24

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล




การใช้งานพอร์ตอนุกรม RS232

การสื่อสารแบบอนุกรม นับว่ามีความสำคัญ ต่อการใช้งาน ไมโครคอนโทรลเลอร์มาก เพราะสามารถใช้แป้นพิมพ์ และจอภาพของ PC เป็น อินพุต และ เอาต์พุต ในการติดต่อ หรือ ควบคุม ไมโครคอนโทรลเลอร์ ด้วยสัญญาณอย่างน้อย เพียง 3 เส้นเท่านั้น คือ

- สายส่งสัญญาณ TX
- สายรับสัญญาณ RX
- และสาย GND

โดยปกติพอร์ตอนุกรม RS-232C จะสามารถต่อสายได้ยาว 50 ฟุตโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับ ชนิดของ สายสัญญาณ, ระยะทาง, และ ปริมาณ สัญญาณ รบกวน





พอร์ตอนุกรมของ PC DB9 ตัวผู้ (Male)








พอร์ตอนุกรมของอุปกรณ์ภายนอก DB9 ตัวเมีย (Female)



พอร์ตอนุกรมของ PC จะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ DB9 ตัวผู้ (Male)

พอร์ตอนุกรม ของอุปกรณ์ภายนอก จะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ DB9 ตัวเมีย(FeMale)


แสดงการจัดขา ของคอนเน็กเตอร์ อนุกรมแบบ DB9 และหน้าที่การใช้งานต่างๆ


DB9 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านหลัง

Pin Description Type

1 Data Carrier Detect (DCD) Input
2 Received Data (RXD) Input
3 Transmitted Data (TXD) Output
4 Data Terminal Ready (DTR) Output
5 Signal Ground (GND) Input
6 Data Set Ready (DSR) Input
7 Request To Send (RTS) Output
8 Clear to Send (CTS) Input
9 Ring Indicator (RI) Input




การเชื่อมต่ออุปกรณ์อุกรณ์ภายนอกเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย DB9




การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน DB9 แบบ Null modem การต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่าน DB9 แบบ 3 เส้น


การทำงานของขาสัญญาณ DB9

TXD เป็นขาที่ใช้ส่งข้อมูล
RXD เป็นขาที่ใช้รับข้อมูล

DTR แสดงสภาวะพอร์ตว่าเปิดใช้งาน ,DSR ตรวจสอบว่าพอร์ต ที่ติดต่อด้วย เปิดอยู่หรือไม่
- เมื่อเปิดพอร์ตอนุกรม ขา DTR จะ ON เพื่อให้อุปกรณ์ได้รับทราบว่าต้องการติดต่อด้วย
- ในขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบขา DSR ว่าอุปกรณ์พร้อมหรือไม่

RTS แสดงสภาวะพอร์ตว่าต้องการส่งข้อมูล ,CTS ตรวจสอบว่าพอร์ตที่ติดต่ออยู่ ต้องการส่งข้อมูลหรือไม่
- เมื่อต้องการส่งข้อมูลขา RTS จะ ON และจะส่งข้อมูลออกที่ขา TXD เมื่อส่งเสร็จก็จะ OFF
- ในขณะเดียวกันก็จะตรวจสอบขา CTS ว่าอุปกรณ์ต้องการที่จะส่งข้อมูลหรือไม่
GND ขา ground





ระดับสัญญาณของ RS232

ระดับสัญญาณของ RS232C และระดับสํญญาณของ TTL

สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น ในสายนำสํญญาณ มักจะมีแรงดันเป็นบวก เมื่อเทียบกับกราวน์
- เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนนี้ จึงออกแบบแรงดัน ของโลจิก "1" เป็นลบ คืออยู่ในช่วง -3V ถึง -15V
ส่วนแรงดัน ของโลจิก "0" อยู่ในช่วง +3V ถึง +15V
- และเหตุที่ ระดับสัญญาณ ของ RS232 อยู่ในช่วง +15V ถึง -15V ก็เพื่อให้ต่อสายสัญญาณไปได้ไกลขึ้น
ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีวงจรเปลี่ยนระดับแรงดันของ RS232 มาเป็นระดับแรงดันของ TTL


อัตราการส่งข้อมูล (Baud rate)
- คือความเร็วของการรับ-ส่งข้อมูล เป็นจำนวนบิทต่อวินาทีเช่น 300, 1,200, 2,400, 4,800 , 9,600 ,14,400 ,19,200, 38,400 ,56,000 เป็นต้น
- การเลือกอัตราการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับ ชนิดของสายสัญญาณ, ระยะทาง,และปริมาณสัญญาณรบกวน

รูปแบบการสื่อสารแบบอนุกรม
มีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือแบบซิงโครนัส (Synchronous) และแบบอะซิงโครนัส(Asynchronous)

การสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous)

-การรับส่งข้อมูล จะมีสัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นตัวกำหนด จังหวะเวลา การส่งข้อมูล ร่วมอยู่ด้วยอีกเส้นหนึ่ง ใช้คู่กับสัญญาณข้อมูล ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณจากคีย์บอร์ด



การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous)

- การรับส่งข้อมูล โดยที่ไม่จำเป็นต้อง มีสัญญาณนาฬิกา ร่วมด้วย แต่จะใช้ให้ตัวส่ง และตัวรับ มีอัตราส่งข้อมูล ที่เท่ากัน
รูปแบบข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

1 บิตเริ่มต้น (Start bit) มีขนาด1 บิต
2 บิตข้อมูล (Data) มีขนาด 5,6,7 หรือ 8 บิต
3 บิตตรวจสอบพาริตี้ (Parity bit) มีขนาด 1 บิตหรือไม่มี
4 บิตหยุด (Stop bit) มีขนาด 1, 1.5, 2 บิต



- เมื่อไม่มีการส่งข้อมูล ขา data จะมีสถานะเป็นโลจิก "1" หรือ สถานะหยุดรอ (Waiting stage)
- เมื่อเริ่มต้นส่งข้อมูลจะให้ขา data เป็นโลจิก "0" เป็นจำนวน 1 บิต เรียกว่าบิตเริ่มต้น (Start bit)
- จากนั้นก็จะเริ่มต้นส่งข้อมูล โดยส่งบิตต่ำไปก่อน (LSB)
- แล้วตามด้วยพาริตี้บิต (จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการติดตั้งค่า ของทั้งสองฝ่าย)
- สุดท้ายตามด้วยโลจิก "1" อย่างน้อย 1 บิต ( มีขนาด 1, 1.5, หรือ 2 บิต) เพื่อแสดงว่าสิ้นสุดข้อมูล

การรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมยังแบ่งออกเป็นลักษณะการใช้งานได้ 3 แบบคือ

1). แบบซิมเพลกซ์ (Simplex) เป็นการส่ง หรือรับข้อมูล แบบทิศทางเดียว เท่านั้น
2). แบบฮาล์ฟดูเพลกซ์ (Half Duplex) เป็นการส่งและรับข้อมูลแบบสลับกัน
คือเมื่อด้านหนึ่งส่ง อีกด้านหนึ่ง เป็นฝ่ายรับ สลับกัน ไม่สามารถรับ-ส่งในเวลาเดียวกันได้
3). แบบฟลูดูเพลกซ์ (Full Duplex) สามารถรับ-ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้




พอร์ตยูเอสบี (USB Port) พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ตแบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว • คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้ • เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร • พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป • สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว • เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ • การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่


พอร์ตขนาน (Pararell Port) หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์ หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย • พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย • การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม



พอร์ตอนุกรม (Serial Port) เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน • พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา) • พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น • สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก


ที่มา : http://www.zabzaa.com/tips/showtips.asp?GID=134

Port คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคลแบบ TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่เรียกว่า IP Address และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต้องการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายผ่านโปรแกรมต่างๆก็จะต้องมีช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูลซึ่งช่องทางเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า Port โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็สามารถมีช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล (Port) ได้หลายช่องทาง (หลาย Port) โดยที่แต่ละช่องทางก็จะมีหมายเลขประจำของตัวเองซึ่งเรียกว่า Port No. โดยที่การรับ-ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายจึงมีชุดหมายเลขอยู่ 2 ชุด ซึ่งจะถูกใช้ในการกำหนดเส้นทางการเดินทางรับ-ส่งข้อมูล คือ
IP Address - หมายเลขประจำเครื่อง (รับ-ส่งข้อมูลมาจากและไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด)
Port No. - หมายเลขประจำพอร์ต (ผ่านทางช่องทางไหน)
ทั้งนี้ IP Address และ Port No. จะมีลักษณะเป็นหมายเลขเฉพาะที่ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้
ที่มา : http://www.thaiipcamera.com/network/50-info/556-port.html


หมายเลข port คือเลขฐาน 16 บิต ตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข port แต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดโดยเฉพาะจาก OS (Operating Systems)ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใดเช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP)


ที่มา : http://www.compspot.net/index.php?tion=com_content&task=view&id=328&Itemid=46


RS-232C เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมนี้สามารถอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Industrial Association) หรือ EIA กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถ เชื่อมต่ออุปกรณ์ระหว่างกันได้ และนิยมใช้แพร่หลาย จนกระทั่งปรับปรุงมาตรฐานเป็นครั้งที่ 3 หรือ revision C และกลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน รวมทั้งบนคอมพิวเตอร์ PC ตามมาตรฐาน RS-232-Cได้กล่าวถึงการสื่อสารข้อมูลระหว่าง Data Terminal Equipment (DTE) (แต่ในปัจจุบันตัวย่อ DCE จะแทน data circuit terminating equipment) ของ DCE และ DTE DCE : อุปกรณ์ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ ทำให้การเชื่อมต่อยังดำเนินต่อไป และยุติการเชื่อมต่อ นอกจากนียังใช้เปลี่ยนลักษณะของสัญญาณและสร้างรหัสสัญญาณต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง DTE (data terminal equipment) และ data circuit โดย DCE อาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ได้ DTE : เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยตัวส่งข้อมูล (data source) หรือ ตัวรับข้อมูล(data sink) หรือเป็นทั้งตัวส่งและตัวรับข้อมูลก็ได้ เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย function unit ต่อไปนี้ control logic , bufferstore และอุปกรณ์อินพุทหรือเอาท์พุทจำนวนหนึ่งตัวหรือมากกว่าก็ได้ หรือรวมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปด้วยก็ได้ DTE อาจจะรวมส่วน error control , synchronization และความสามารถในการบ่งหรือระบุว่าต้องการเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ตัวใด (station identification capability) เข้าไปด้วยก็ได้ DTE จะแทนแหล่งกำเนิดข้อมูลแหล่งแรก และ/หรือ อุปกรณ์ที่เป็นแหล่งรับข้อมูลแหล่งสุดท้าย เช่นเครื่องพิมพ์ หรือ จอภาพ (CRT) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว จะเป็น DTE เพราะเป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเป็นตัวสุดท้าย คีย์บอร์ดเป็นทั้งตัวรับและตัวกำเนิดข้อมูล ส่วน DCE เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างแหล่งกำเนิดกับตัวรับข้อมูลที่ปลายทาง ทำให้สะดวกขึ้น


ที่มา : http://reocities.com/Paris/boutique/6112/port/index.html


lan RJ45-utpสิ่งจำเป็นสำหรับการเข้าหัวสาย Lan (สาย UTP / หัว RJ45) สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นระบบ Network ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้นสาย UTP CAT 5e หรือ UTP CAT 6 (ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ Lan แบบ ไร้สาย หรือ Wireless Lan กันมาขึ้น เพราะสะดวกและติดตั้งง่ายสวยงามอีกต่างหาก เนื่องจากไม่ต้องมีสายต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่าสาย Lan นั้นล่ะครับสาย UTP ว่า "การเข้าหัวสาย Lan" ในการเข้าหัวสาย Lan เราต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นดังนี้หัว RJ45 Modulat Plug Boot อันนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก็ดีครับเพื่อป้องกันสายหักบริเวณปลายหัว RJ45 แลยังดูเรียบร้อยดีอีกด้วยคีมสำหรับตัดสายและย้ำหัว RJ45ตัวปลอกสาย UTP หากไม่มีใช้มีดคัดเตอร์แทนก็ได้เครื่องทดสอบสาย LAN จริงๆ มีหลายยี่ห้อมากสำหรับเครื่องที่ใช้ทดสอบสาย UTP แต่ในรูปเป็นของ Fluke คุณสมบัติของรุ่นนี้ก็เช่นสามารถเช็คความยาวสาย ได้ทั้งแบบเมตรและฟุต Ping,test ไปยัง IP ที่ต้องการได้,กำหนด IP ให้ตัวเองได้ทั้งแบบ Static และ DHCPสาย UTP (สาย Lan) ภายในสาย UTP เมื่อเราปลอกเปลือกที่หุ้มสายออกแล้วเราจะพบว่ามีสายเล็กๆ อยู่อีก 4 คู่ (8 เส้น) คือ· ขาวส้ม - ส้ม· ขาวเขียว - เขียว· ขาวน้ำเงิน - น้ำเงิน· ขาวน้ำตาล - น้ำตาล


ที่มา : http://www.wirelink.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=68:-lan-utp-rj45&catid=31:general&Itemid=53
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbpsและได้เกือบ 1000 Mbps คืออยู่ราวๆ 700 - 800 Mbps ตอนนี้ที่ใช้อยู่ คือวงแลนวงใหม่ที่ได้ทำให้กับ อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพครับ
ที่มา :http://www.numsai.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-UTP-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

โดย

นางสาวเจนิรา ทองโคตร พ.ณ.2/12 เลขที่9

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์เมนเฟรม

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: mainframe computer) คือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กรเพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
เช่น สำมะโนประชากร สถิติผู้บริโภค การบริหารทรัพยากรขององค์กร
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก














เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM
ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่ง เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็น

ลักษณะทั่วไปของ เมนเฟรม
เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาด ใหญ่ ที่ มี การ พัฒนา มา ตั้ง แต่ เริ่ม แรก เหตุ ที่ เรียก ว่า เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ เพราะ ตัวเครื่องประกอบ ด้วย ตู้ ขนาด ใหญ่ ที่ ภาย ใน ตู้ มี ชิ้น ส่วน และ อุ ปกรณ์ ต่าง ๆ อยู่ เป็น จำนวน มาก แต่ อย่าง ไร ก็ ตาม ใน ปัจจุบันเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มี ขนาด ลด ลง มาก เมนเฟรม เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี ราคา สูง มาก มัก อยู่ ที่ ศูนย์ คอมพิวเตอร์ หลัก ของ องค์ การ และ ต้อง อยู่ ใน ห้อง ที่ มี การ ควบ คุม อุณหภูมิ และ มี การ ดู แล รักษา เป็น อย่าง ดี บริษัท ผู้ ผลิตเมนเฟรม ได้ พัฒนา ขีด ความ สามารถ ของเครื่องให้ สูง ขึ้น ข้อ เด่น ของ การ ใช้เมนเฟรม อยู่ ที่ งาน ที่ ต้อง การ ให้ มี ระบบ ศูนย์ กลาง และ กระจาย การ ใช้ งาน ไป เป็น จำนวน มาก เช่น ระบบ เอ ทีเอ็มซึ่ง เชื่อม ต่อกับฐาน ข้อ มูล ที่ จัด การ โดยเครื่องเมนเฟรม อย่าง ไร ก็ ตาม ขนาด ของเมนเฟรม และ มิ นิ คอมพิวเตอร์ ก็ ยาก ที่ จะ จำแนก จาก กัน ให้ เห็น ชัด ปัจจุบันเมนเฟรม ได้ รับ ความ นิยม น้อย ลง ทั้ง นี้ เพราะ คอมพิวเตอร์ ขนาด เล็ก มี ประสิทธิภาพ และ ความ สามารถ ดี ขึ้น ราคา ถูก ลง ขณะ เดียว กัน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

ที่มา:http://www.thaiall.com/os/os01.htm