วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์เมนเฟรม

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: mainframe computer) คือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กรเพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
เช่น สำมะโนประชากร สถิติผู้บริโภค การบริหารทรัพยากรขององค์กร
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก














เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM
ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่างๆ ได้ลดน้อยลงมาก เพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย สถานศึกษาที่มีเครื่องระดับนี้ไว้ใช้สอน ก็มีเพียงไม่กี่แห่ง เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่า ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะมากขึ้น จนสามารถทำงานได้เท่ากับเครื่องเมนเฟรม แต่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเมนเฟรม ยังคงมีความจำเป็น ในงานที่ต้องใช้ข้อมูลมากๆ พร้อมๆ กันอยู่ต่อไปอีก ทั้งนี้เพราะ เครื่องเมนเฟรมสามารถพ่วงต่อ และควบคุมอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เครื่องขับจานแม่เหล็ก ฯลฯ ได้เป็น

ลักษณะทั่วไปของ เมนเฟรม
เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาด ใหญ่ ที่ มี การ พัฒนา มา ตั้ง แต่ เริ่ม แรก เหตุ ที่ เรียก ว่า เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ เพราะ ตัวเครื่องประกอบ ด้วย ตู้ ขนาด ใหญ่ ที่ ภาย ใน ตู้ มี ชิ้น ส่วน และ อุ ปกรณ์ ต่าง ๆ อยู่ เป็น จำนวน มาก แต่ อย่าง ไร ก็ ตาม ใน ปัจจุบันเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มี ขนาด ลด ลง มาก เมนเฟรม เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี ราคา สูง มาก มัก อยู่ ที่ ศูนย์ คอมพิวเตอร์ หลัก ของ องค์ การ และ ต้อง อยู่ ใน ห้อง ที่ มี การ ควบ คุม อุณหภูมิ และ มี การ ดู แล รักษา เป็น อย่าง ดี บริษัท ผู้ ผลิตเมนเฟรม ได้ พัฒนา ขีด ความ สามารถ ของเครื่องให้ สูง ขึ้น ข้อ เด่น ของ การ ใช้เมนเฟรม อยู่ ที่ งาน ที่ ต้อง การ ให้ มี ระบบ ศูนย์ กลาง และ กระจาย การ ใช้ งาน ไป เป็น จำนวน มาก เช่น ระบบ เอ ทีเอ็มซึ่ง เชื่อม ต่อกับฐาน ข้อ มูล ที่ จัด การ โดยเครื่องเมนเฟรม อย่าง ไร ก็ ตาม ขนาด ของเมนเฟรม และ มิ นิ คอมพิวเตอร์ ก็ ยาก ที่ จะ จำแนก จาก กัน ให้ เห็น ชัด ปัจจุบันเมนเฟรม ได้ รับ ความ นิยม น้อย ลง ทั้ง นี้ เพราะ คอมพิวเตอร์ ขนาด เล็ก มี ประสิทธิภาพ และ ความ สามารถ ดี ขึ้น ราคา ถูก ลง ขณะ เดียว กัน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

ที่มา:http://www.thaiall.com/os/os01.htm

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่

- คีย์บอร์ด (keyboard)







- เมาส์ (mouse)
















- สแกนเนอร์ (scanner)












- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)











- ไมโครโฟน(microphone)












- กล้องเว็บแคม (webcam)










อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์




2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ - แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องวาด (Plotter) - แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
จอภาพ (monitor)













เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)



4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร
- หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
RAM








- หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์
Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง








วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรมล็อกโฟเดอร์ Lock Folder XP 3.6

Lock Folder XP 3.6 : โปรแกรมล็อคโฟลเดอร์สุดเจ๋ง ล็อคได้ทั้งไดรฟ์โปรแกรมล็อคโฟลเดอร์

สามารถเลือกออพชั่นการล้อคได้แบบหลากหลาย ทั้งแบบไฟล์ แบบโฟลเดอร์ และแบบทั้งไดรฟ์สำหรับวิธีการลง และวิธีการใช้งาน มีคู่มือให้เรียบร้อยแล้ว

สำหรับข้อแตกต่าง โปรแกรมอื่นๆนั้นจะทำการสร้างพื้นที่(โฟลเดอร์)ขึ้น แล้วให้เราเอาไฟล์มาเก็บในนั้น ถึงจะซ่อนได้ สรุปคือ ซ่อนแค่โฟลเดอร์นั้นๆ โฟลเดอร์เดียว(โฟลเดอร์ของโปรแกรม) ซึ่งปัญหาคือ ถ้าเราต้องการซ่อนไฟล์ใหญ่มาก เราต้องเสียเวลาก็อปปี้ไปๆมาๆแต่สำหรับโปรแกรมตัวนี้ เราไม่จำเป็นต้องย้ายไฟล์มาไว้ในโฟลเดอร์ที่โปรแกรมสร้างขึ้น แต่ตัวโปรแกรม จะไปล็อคไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นๆแทน เช่น ผมล็อค โฟลเดอร์ในไดรฟ์ซี และอีกโฟลเดอร์ในไดรฟ์ดี ได้พร้อมกันเลย โดยที่เราไม่ต้องก็อปปี้มาวางในโฟลเดอร์ใด เพียงแค่เราเลือกโฟลเดอร์ที่จะล็อค และกดล็อค แค่นั้น และเมื่อเราเลิกล็อค โฟลเดอร์นั้นก็จะกลับไปอยู่ที่เดิมของมัน

อินเตอร์เฟซใช้งานง่าย และ สวย รวมทั้งขนาดโปรแกรมเล็กๆ

วิธีติดตั้ง: เมื่อเราคลิกไอคอนโปรแกรม จะปรากฎหน้าต่างให้เรากรอกพาสเวิร์ด จากนั้นคลิกที่ปุ่ม โพรเท็ค แล้วเลือกชนิดของการป้องกัน เช่นป้องกันทั้ง ไดรฟ ป้องกัน แค่โฟลเดอร์ หรือป้องกันเป็นไฟล์ในกรณีนี้ผมเลือกป้องกันเป็นโฟลเดอร์ เมื่อเลือกแล้วหน้าต่างโปรแกรมจะให้เราเลือกว่า จะป้องกันโฟลเดอร์ไหน ผมเลือก my pictureจากนั้นรายชื่อของโฟลเดอรืก็จะปรากฎในหน้าต่างของโปรแกรม เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ให้สังเกต ไอคอนรูปกุญแจ หากเราไปคลิกไฟล์ไหนในลิสต์รายการแล้ว ขึ้นว่า Locked หมายถึงล็อคโฟลเดอร์แล้ว แต่อันไหนขึ้นว่า Unlocked คือ ยังไม่ได้ล็อค และเมื่อเราเข้าไปหาโฟลเดอร์ที่เราล็อคไว้เราจะหาไม่พบ เพราะโฟลเดอร์นั้นจะถูกโปรแกรมป้องกันไว้ ต้องไปสั่งปลดล็อคในโปรแกรมก่อน ซึ่งเราจะมีพาสเวิร์ดที่จะเข้าไปสั่งปลดล็อคเพียงคนเดียวซึ่งถ้าเราจะปลดล้อคก็เพียงแค่ เลือกชื่อโฟลเดอร์ในลิสต์ของโปรแกรม แล้วกดปุ่ม Locked ให้กลายเป็น Unlocked เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยเมือ่เราใช้งานโฟลเดอร์นั้นแล้ว ก็อย่าลืม กลับมาสั่งล็อคไว้เหมือนเดิมละครับ ด้วยวิธีการเหมือนเดิมคือ เลือกโฟลเดอร์ แล้วกดปุ่ม Unlocked ให้กลายเป็น Lockedหรือหากเราต้องการลบรายการโพรเท็คออกจากระบบการป้องกัน ก้เพียงแค่คลิกเลือกชื่อโฟลเดอร์ แล้วเลือกกดปุ่ม รีมูฟ แค่นั้นครับ โฟลเดอร์นั้น ก็จะกลับมาอยู่ในระบบการทำงานแบบปกติ