วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่ของจ้าของร้านเกมส์

กิจการร้านกมส์จัดเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการ
ขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่ถือว่าได้ผลทุนคืนเร็วกว่ากิจการอื่น การ
ดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น
ลักษณะของเจ้าของร้านเกมส์
1. มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในเรื่องต่างพอสมควร
2. เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในร้านของตนเอง
3. เจ้าของกิจการต้องกล้าลงทุนและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4. การควบคุมการดำเนินงานโดยส่วนใหญ่เจ้าของร้านต้องดูแลคนเดียว
5. มีความรับผิดชอบในลูกจ้างที่อาจจะมี เช่น นักควบคุมโปรแกรมของร้าน

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมคอมฯ

1. จริยธรรม
หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

2.ความหมายจริยธรรมทางธุรกิจ
จากการศึกษาในด้านการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจเราสามารถสรุป
ความหมายได้ดังนี้

อาชีพ (Profession) หมายถึง การทำงานที่มุ่งบริการยิ่งกว่าหาเงิน ผู้ประกอบ
อาชีพมิได้หมายความว่าต้องประกอบกิจการโดยไม่รับค่าตอบแทน จำเป็นจะต้อง มีอัตราค่าตอบแทน จำเป็นจะต้องจะต้องมีอัตรา ค่าตอบแทนพอสมควรกับการบริการ และการรับผิดชอบ แต่มุ่งประกอบเพื่อ รับใช้สังคมเป็นที่ตั้ง มีมาตรการ ร่วมสำหรับ ควบคุมการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการอาชีพนั้น ๆ ไม่กล้าฝืน เพราะ การเสียจรรยาบรรณจะได้รับ การดูถูกเหยียดหยามกลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจ
ธุรกิจ (Business) หมายถึง การทำงานที่มุ่งหาเงินยิ่งกว่าการบริการ งานใด
จะเป็นอาชีพหรือธุรกิจย่อยขึ้นอยู่กับความตั้งใจของตัวผู้ทำงาน ฉะนั้นผู้ประกอบ ธุรกิจบางคนทำอย่างนักธุรกิจแต่อย่างเดียวบางคนทำอย่างนักอาชีพด้วยการมอง ถ้า มองในแง่เศรษฐศาสตร์ก็จะเป็นนักธุรกิจ ถ้ามองในแง่แง่จริยศาสตร์ก็เป็นนักอาชีพ ผู้ที่มุ่งประกอบกิจการเพื่อโอบโกยหาผลประโยชน์แต่อย่างเดียวการแสดงออกใน ความ ประพฤติขณะทำงานจึงต่างกันกับผู้ประกอบอาชีพ อาชีพทั้งหลายก็ กลายเป็น ธุรกิจได้ง่าย

3.ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา
“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ คำว่า ธรรม พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ 1. ธรรมชาติ 2. กฎของธรรมชาติ 3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ 4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต ) เพิ่มศัพท์และปรับปรุง พ.ศ. 2427 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 105) ที่นำเอาความหมายของคำว่า ธรรม ที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้ก็เพื่อความเข้าใจคำว่า ธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆเท่านั้น ธรรม หรือ สัจธรรม เป็นแม่บท เป็นฐานของทุกอย่าง ต่อจาก สัจธรรม ก็คือสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรม อันได้แก่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความดีงาม ซึ่งเป็นความจริงที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ความจริงของมนุษย์ต้องสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ จึงจะเกิดผลสำเร็จได้ด้วยดีจากนั้นจึงจะมาถึง วัฒนธรรม ซึ่งเป็นรูปแบบหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นจริงตามที่มนุษย์ต้องการสัจธรรม คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะของธรรมชาติ
จริยธรรม คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์วัฒนธรรม คือรูปแบบการปฏิบัติตามจริยธรรมที่ปรากฏในวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์

4.องค์ประกอบของจริยธรรม
จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทาง
ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือในทุกองค์กรต้องมีข้อปฏิบัติ ปฏิบัติร่วมกันจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะได้มีดังนี้
1. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กร ซึ่งถ้าองค์กร
ใดขาดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละคน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการ ไม่มีผู้นำ ไม่มีระเบียบแบบแผนให้ยึดถือ ในแนวเดียวกัน ถ้าหาเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่ เกิดความ เดือดร้อน และความไม่สงบในองค์กรจึงอาจทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การได้ ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรต้องมีระเบียบวินัย
2. สังคม (Society) เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบ
แบบแผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามซึ่งการ รวมกลุ่ม กันประกอบกิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะ ให้ ความ ร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาสังคมหรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่ ่่ประโยชน์ ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดี ๆ เช่น เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยต่าง ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือแม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยการบริจาคทั้ง ทุนทรัพย์ และกำลังเท่าที่ สามารถช่วย ได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือใน รูปแบบต่าง ๆซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรม ทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมไทย นั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วย น้ำใจที่ ี่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
3. อิสระเสรี (Autonomy) โดยทั่วไปแล้ว บุคคลผู้สำนึกในมโนธรรมและมี
ประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่ความสุข ที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับ คนไทยไทยนั้นค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเองให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการ โครงการศึกษาจริยธรรม ได้ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝัง
แก่คนไทยไว้ 8 ประการดังนี้

1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทธาในสิ่งที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับ
ที่สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ ความจริงได้
2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้
ความจริงเป็นทางออกอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือจัดอุปสรรค์ข้อ ยุ่งยาก ต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่
3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการเสียสละนั้นไม่
ก่อให้เกิดเดือนร้อนต่อตนเอง แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล

4. สติ- สัมปชัญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลัง

ทำอะไรอยู่ และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้าน การประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องที่ด้วยสติ

5. ไม่ประมาท คือ การที่จะกระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียม
เตรียมพร้อม โดยต้องมีการคาดการณ์ เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใด ๆ ของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัย
6. ซื่อสัตย์สุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบัติตนที่ตรงต่อความเจริญความ
ถูกต้อง ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ต่อคำมั่นสัญญา ซึ่งหากปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่อยู่ ร่วมกันในสังคมได้
7. ขยัน – หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้
รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน
8. หิริ – โอตตัปปะ คือ การละอาย และแกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิด
ศีลธรรมต่อมาได้มีการเพิ่มคุณลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ

1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ
4. ความเสียสละ 5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที
7. การรักษาระเบียบวินัย
8. การประหยัด 9. ความยุติธรรม
10. ความอุตสาหะ 11. ความเมตตากรุณา

5.ประเภทของจริยธรรม

จากการศึกษาเราสามารถสรุปประเภทของจริยธรรมได้ 2 ระดับคือ
1. จริยธรรมภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในอาจจะไม่แสดงออกซึ่งเป็นจริยธรรม
ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ของบุคคล และสภาวะของจิตใจของแต่ละ บุคคล และบุคคล เช่น ความปราศจากอคติ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที มีความเมตตากรุณาเป็นต้น
2. จริยธรรมภายนอก คือ พฤติกรรมภายนอกที่บุคคลแสดงออกมาซึ่งสามารถ
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีความซื่อตรง มีสัจจวาจา มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน มีความขยันหมั่นเพียร ความประณีต สุภาพอ่อนน้อม ให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร เคารพกฎกติกา มีมารยาท เป็นต้น

6. โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม
คุณลักษณะของจริยธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่า “จริยธรรม” นั้น มีบทบาทต่อบุคคลในลักษณะใดบ้าง และส่งผลต่อบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตน ในการ ดำรงชีวิต ทั้งในด้านการทำงานและ ความเป็นอยู่ในแต่ละสังคม คุณลักษณะโดยทั่วไปของจริยธรรม เมื่อพิจารณาแล้วเราสมารถแบ่งได้ดังนี้

1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การบุคคลนั้น สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ความผูกพัน ด้วยความเพียร ละเอียดรอบคอบยอมรับผลของการกระทำ ในการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุ ตามมุ่งหมาย มีพยายามปรับปรุงการทำงาน ของตน ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และพร้อมที่จะสร้างสรรค์งานใหม่ อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลอย่างเหมาะสม
ตรงต่อความเป็นจริง ตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น หาก ทำงานอยู่ในองค์กรต้องมีความซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ต่อลูกจ้าง ต่อองค์กร ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นต้น
3. ความมีเหตุผล หมายถึง ความสามารถในการใช้ปัญญา รู้จักไตร่ตรอง
พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลง งมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และ
ความยืดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจจะผิดได้ ไม่เชื่อง่าย หูเบา รู้จักใช้เหตุผล
ในกานพิจารณาเรื่องราวที่รับรู้ เป็นต้น
4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีจิตใจและการประพฤติ
ที่รู้สำนึกในอุปการคุณของผู้มีพระคูณแล้วแสดงออกตอบแทนต่อมีพระคุณอย่าง บริสุทธิ์ใจ มิใช่เป็นการกระทำเฉพาะหน้าที่ที่ต้องกระทำ แต่ควรเป็นการกระทำ ที่ แสกงออกมาซึ่งความ เต็มใจอย่างแท้จริง เป็นต้น
5. การรักษาระเบียบวินัย หมายถึง แนวปฏิบัติในการที่จะควบคุมความ
ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสมกับ จรรยาบรรณ ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศิลธรรม ซึ่งในองค์กรทุกองค์กร เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกัน ทั้งต้องเป็น แนวปฏิบัติร่วมกันตลอดจนในสังคัมจะต้องมี เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม เป็นต้น
6. ความสามัคคี หมายถึง การเตรียมความพร้อมเพรียม เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ร่วมมือกันกระทำกิจกรรม หรือกิจกรรมต่างๆ ให้ได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว ซึ่งยัง หมายถึงการที่จะต้องรู้ถึงการปรับตนเอง ให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี รับผิดชอบในหน้าที่ ตลอดจนการมีความรักในหมู่คณะ เป็นต้น
7. ความยุติธรรม หมายถึง การมีจิตใจที่ความเที่ยงตรง ซึ่งความเที่ยงตรงนี้
จะต้องสอดคล้องกับความจริง ไม่ลำเอียง หรือมีการปกปิด ซึ่งหากบุคคลมีความ ยุติธรรม ประจำตนแล้วนั้น ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในทางที่ไม่ดี จะเกิดขึ้นน้อยมาก
8. ความเสียสละ หมายถึง การที่บุคคลนั้นละแล้วซึ่งความเห็นแก่ตัว รู้จัก
สลัดอารมณ์ร้ายในตัวเองทิ้ง การมีน้ำใจและแบ่งปันให้กับบุคคลอื่น การให้ความ ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ กำลงกาย กำลังสติปัญญา เป็นต้น
9. การประหยัด หมายถึง การที่บุคคลนั้นไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักยับยั้ง
ความต้องการให้อยู่ในขอบเขต มีความพอดี ใช้สิ่งของทั้งหลาย อย่างพอเหมาะ พอควร ใช้ให้ได้ ประโยชน์มากที่สุด รู้จักระมัคระวัง ไม่ให้มีส่วนเกินเหลือทิ้ง เป็นต้น
10. ความเมตตากรุณา หมายถึง การที่บุคลมีความรักใคร่ปอง ดองกัน มี
ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน ซึ่งมีจุดหมายที่จะ ให้บุคคลดังกล่าวให้พ้นทุกข์ เป็นต้น
11. ความอุตสาหะ หมายถึง การที่บุคคลมีความพยายามอย่างเข็มแข็งในการ
รทที่จะมุ่งมั่นในการทำงานหรือทำกิจกรรม ใด ๆ ให้สำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ในการทำงานและตรงตามเวลาที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น

นางสาวเจนิจรา ทองโคตร พณ.3/12 เลขที่9
นางสาวสุพัตรา ถนอมพลกรัง พ.ณ.3/12 เลขที่ 24